วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555

Museum (Group F) - ข้อพิจารณาในการออกแบบประเภทอาคาร ( Design Approach by Building Type )


1. องค์ประกอบของโครงการ (Project Component)

Hall (Waiting Area, Lobby)
          ส่วนต้อนรับเป็นส่วนที่กระจายผู้ใช้โครงการไปยังส่วนต่างๆ ของโครงการ ใช้เพื่อเป็นจุดนัดพบหรือพักรอ มีTicket Counter, Information เพื่อจำหน่ายตั๋ว และให้คำแนะนำและให้ข้อมูลด้านต่างๆ แก่ผู้ที่มาเยี่ยมชม


 โดยในส่วนโถงจะมีฟังก์ชั่นดังนี้
1. ส่วนโถงทางเข้า
2. ส่วนพักคอย
3. ส่วนประชาสัมพันธ์
4. พื้นที่จำหน่ายบัตร
5. บริเวณฝากของ
6. ร้านขายของที่ระลึก
7. พื้นที่ส่วนโทรศัพท์สาธารณะ
8. ห้องน้ำสาธารณะ

                          


สารสนเทศ(Information)
         หรือ สารนิเทศ หมายถึง ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ข้อเท็จจริง ความคิด ประสบการณ์ รวมถึงจินตนาการของมนุษย์ โดย ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารในการเก็บรวบรวม การจัดเก็บข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบ มีการประมวลผล วิเคราะห์ผลที่ประมวณได้จาก

ข้อมูลนั้น และอาจสื่อออกมาด้วย
-สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น แผ่นพับ หนังสือ วารสาร
-สื่อโสตทัศนวัสดุ เช่น ซีดีรอม วีดิทัศน์
-สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อินเตอร์เน็ต
และแบ่งการรับรู้ออกเป็น
- จากาการฟังเพียงอย่างเดียว
-จากการเห็นเพียงอย่างเดียว
-จากการ ฟัง และ เห็น
-จากการฟัง การเห็น และ การสนทนาแลกเปลี่ยน
-จากการฟัง การเห็น และ การสนทนาแลกเปลี่ยนและปฏิบัติ

          
 


ส่วนนิทรรศการ (Exhibition)
ในส่วนนี้จะเป็นการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ในเนื้อหาเรื่องราวที่เป็นการให้ความรู้แก่ผู้สนใจเข้าชม ซึ่งจะมีรูปแบบของการจัดแสดงด้วย Boards และ Object Model แบ่งออกเป็น
           - Temporary Exhibition นิทรรศการชั่วคราว นิทรรศการที่จัดอยู่ในที่หนึ่งที่ใดเป็น ระยะเวลาสั้นๆ
           - Permanent Exhibition นิทรรศการถาวร เป็นการจัดแสดงเรื่องราวเดิมๆ ไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งที่แสดง เช่น ของจริง หุ่นจำลอง รูปภาพ งานกราฟฟิค ฯลฯ และวิธีการ จัดแสดงนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะเวลานาน จัดอยู่ในอาคารหรือ สถานที่เดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง ผู้ชมสามารถเข้ามาชมได้ตลอดเวลาตลอด ทั้งปี

 Seminar Room         
          เป็นส่วนที่ในการประชุม สัมมนา บรรยาย สามารถแบ่งห้องประชุมสัมมนาออกเป็น 2 ลักษณะ คือแบบถาวร และแบบที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบห้องได้หลากหลายรูปแบบ
                
 
Video And 3D Animation Room
เป็นส่วนที่เน้นการเล่าเรื่องด้วยภาพ ภาพทำหน้าที่หลักในการนำเสนอ เสียงจะเข้ามาช่วยเสริมในส่วนของภาพเพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องมากยิ่งขึ้น เป็นสื่อในลักษณะที่นำเสนอเป็นภาพเคลื่อนไหวและสร้างความต่อเนื่องของการกระทำของวัตถุจากเรื่องราวต่างๆ สร้างความรู้สึกใกล้ชิดกับผู้ชม เป็นสื่อที่เข้าถึงง่าย

Souvenir Shop, Retail Shop  
เป็นส่วนที่ช่วยสนับสนุนโครงการเป็นส่วนที่เพิ่มรายได้ และใช้หน่ายของที่ระลึกที่เป็นเอกลักษณ์ของโครงการ
            

Museum Storage
สถานที่จัดเก็บวัตถุและของมีค่าต่างๆของพิพิธภัณฑ์ ให้เป็นระเบียบ สะอาด มีระบบรักษาความลอยภัยจากอันตรายต่างๆ และมีสภาพแว้อม แสง อุณหภูมิ ที่เหมาะกับการจัดเก็บวัตถุนั้นๆ
การจัดเก็บวัตถุในคลังพิพิธภัณฑ์มีความสำคัญเพราะจะทำให้เกิดระเบียบในการจัดเก็บวัตถุเป็นหมู่ 
การแยกประเภทวัตถุ มี5ประเถท
1.การแยกประเภทวัตถุตามลำดับก่อนหลังที่รับเข้าพิพิธภัณฑสถาน
2.การแยกประเภทตามชนิดการใช้งานวัตถุเป็นประติมากรรม ภาชนะ เครื่องนุ่งห่ม จิตรกรรม เครื่องเรือน ฯลฯ
3.การแยกประเภทตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นแหล่งที่มาทางวัตถุ
4.การแยกประเภทตามขนาดของวัตถุ ซึ่งอาจแยกเป็น 3-4 ประเภท คือ วัตถุขนาดเล็ก วัตถุขนาดกลาง วัตถุขนาดใหญ่ และวัตถุขนาดใหญ่พิเศษ
5.การแยกประเภทวัตถุตามประเภทของวัสดุ หรือแยกตามสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับวัสดุแต่ละชนิด

โดยการจัดวางพื้นที่ Museum Storage ต้องมีความสัมพันธ์ Fucntion ดังนี้
1. SERVICE YARD
2. LOADING AREA
3. RECEIVING AREA
4. SPECIMEN WASHING AREA
5. CRATING AREA
6. CRATE STORAGE AREA
7. REGISTRATION AREA
8. RECORDS VAULT
9. RECEPTION AREA
10. CURATORIAL OFFICES OR LABORATORIES
11. COLLECTIONS RESEARCH AREA
12. PHOTO AREA
13. CONSERVATION LABORATORIES
14. COLLECTIONS STORAGE AREA
15. OUTSIDE NIGHT ENTRANCE
16. SECURITY CONTROL STATION
Administration
          เป็นส่วนติดต่อสอบถามผู้ที่ต้องงการเข้ามาทำกิจกรรม และเป็นส่วนทำงานของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่โรงการ

Service
          ส่วนรักษาความปลอดภัย ,ส่วนพนักงาน ,ส่วนดูแลอาคาร ,ส่วนบริการ ได้แก่ ห้องปั้มน้ำ ห้องเครื่องไฟฟ้า

Parking


2. Case Study

























3. Programming Approach




4. การออกแบบควรคำนึงถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ ( Main Criteria For Design )

โดยจะแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆได้ดังนี้คือ


ส่วนนิทรรศการ
- กำหนดเรื่องราวของการจัดแสดงให้มีความต่อเนื่องของการจัดแสดงเป็นลำดับขั้นตอนดังนี้
1)  มีการจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมต่างๆ โดยให้ความสำคัญกับส่วนนิทรรศการมากที่สุด
2)  มีการจัดกลุ่มกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์กันให้อยู่ใกล้กันและมีความเหมาะสมกัน
3)  ห้องบรรยายก่อนเข้าชมจะแยกออกเป็นห้องบรรยายกลุ่มเล็กและห้องบรรยายกลุ่มใหญ่
4)  ในส่วนจัดแสดงภายในทั้งนิทรรศการชั่วคราวและนิทรรศการถาวรควรมี space ที่สามารถสร้างความ          รู้สึกประทับใจแก่ผู้เข้าชมนิทรรศการ
5)  ในส่วนจัดแสดงชั่วคราวควรให้สามารถมีความยืดหยุ่นของขนาดพื้นที่ได้โดยสามารถแบ่งพื้นที่ว่างให้สามารถใช้งานได้หลายรูปแบบ
-  จาก Hall ผู้เข้าชมนิทรรศการสามรถเข้าไปยังนิทรรศการชั่วคราว นิทรรศการถาวรและนิทรรศการกลางแจ้งได้โดยตรง
-  ส่วนนิทรรศการถาวรควรจัดลำดับเรื่องราวการเข้าชมตามลำดับเรื่องราวในการจัดแสดง
-  ในระหว่างการเดินชมนิทรรศการควรจัดให้มีพื้นที่พักผ่อน เช่น โถงก่อนการเปลี่ยนแปลงเรื่องราวในการจัดแสดง
-  ส่วนนิทรรศการชั่วคราวควรอยู่ติดกับฝ่ายศิลปกรรมเพื่อความสะดวกในการจัดเตรียมแสดง
-  ในส่วนนิทรรศการและคลังจะใช้เจ้าหน้าที่ประจำทางด้านหน้าทางเข้า เพื่อรักษาความปลอดภัย 
24 ชม.และควรมีประโยชน์วงจรปิดควบคุม
-  เส้นทางสัญจรจะแยกระหว่างเส้นทางบริการและผู้เข้าชมนิทรรศการและผู้เข้าชมนิทรรศการทุกกลุ่มจะใช้เส้นทางเดียวกัน
-  พื้นในส่วน Drop พัสดุเข้าคลังเก็บวัตถุจัดแสดงต้องอยู่ในระดับที่สามารถขนถ่ายพัสดุได้สะดวก
-  ภายในส่วนที่จัดแสดงนิทรรศการ จัดให้มีพื้นที่สำหรับกลุ่มผู้ยืนชมนิทรรศการ โดยคำนึงถึงพื้นที่ สำหรับเป็นทางเดินผ่านสำหรับผู้อื่นด้วย
-  คลังพิพิธภัณฑ์สามารถเชื่อมโยงกับส่วนพิพิธภัณฑ์ชั่วคราวและถาวรได้สะดวก



หลักการออกแบบในการจัดนิทรรศการ


1. ความเป็นเอกภาพ
............เอกภาพ (unity) หมายถึง ผลรวมขององค์ประกอบที่อยู่ร่วมกันได้อย่างเหมาะสมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงความเป็นหน่วยเป็นกลุ่มเป็นก้อนเป็นเรื่องเดียวกัน มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันและกลมกลืนกัน นอกจากความเป็นเอกภาพจะสามารถดึงดูดความสนใจได้ดีแล้ว ยังช่วยในการสื่อความหมายให้ผู้ชมเข้าใจสาระได้ง่ายยิ่งขึ้นด้วย
............ประโยชน์ของความเป็นเอกภาพในนิทรรศการ มีประโยชน์ทั้งต่อผู้จัดและผู้ชมหลายประการคือ ป้องกันความสับสนและความเข้าใจผิด สะดวกในการจัดการและดำเนินงาน มีจุดเด่นเป็นลักษณะเฉพาะแตกต่างจากสิ่งแวดล้อมโดยรอบ เป็นการนำเสนอเนื้อหาที่ตรงกับวัตถุประสงค์ สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย สามารถจำแนกปัญหาและอุปสรรคได้ชัดเจน
...........ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเป็นเอกภาพ ความเป็นเอกภาพแสดงออกให้เห็นรูปแบบต่าง ๆ ดังตัวอย่าง เช่น
..............ความใกล้ชิด (proximity)
..............การซ้ำ (repetition)
..............ความต่อเนื่อง (continuation)
..............ความหลากหลาย (variety)
..............ความกลมกลืน (harmony)


ตัวอย่างแสดงความกลมกลืนของเส้น
ตัวอย่างแสดงความกลมกลืนด้วยรูปร่างที่ใกล้เคียงกัน
ตัวอย่างแสดงความกลมกลืนของทิศทางที่มา
ตัวอย่างแสดงความกลมกลืนของพื้นผิวที่ใกล้เคียงกัน
ตัวอย่างแสดงความกลมกลืนของขนาดที่ใกล้เคียงกัน
ตัวอย่างแสดงความกลมกลืนทางความคิด

2. ความสมดุล
...........ความสมดุล (balance) เป็นลักษณะการจัดองค์ประกอบให้สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ชมคล้อยตามโดยไม่รู้ตัว ความสมดุลช่วยให้ผู้ชมรู้สึกสบายไม่อึดอัดในขณะชมนิทรรศการ เพราะความสมดุลทำให้เกิดความรู้สึกพอดีและเหมาะสมกับธรรมชาติของเนื้อหา ความสมดุลในการออกแบบสื่อทัศนศิลป์ในนิทรรศการเป็นการถ่วงดุลขององค์ประกอบต่าง ๆ ให้ความรู้สึกว่ามีปริมาณ ขนาดหรือน้ำหนักของแต่ละด้านเท่าเทียมกัน
...........2.1 ประเภทของความสมดุล ความสมดุลในงานออกแบบแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ
...........2.1.1 ความสมดุลแบบสมมาตร คือความสมดุลที่มีลักษณะซ้าย – ขวาเท่ากัน ได้ซึ่งเกิดจากการจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ให้มีปริมาณขนาดน้ำหนักเท่า ๆ กันทั้งซ้าย ทั้งขวา เมื่อแบ่งครึ่งด้วยเส้นแกนสมมุติแนวตั้ง ความสมดุลลักษณะนี้ให้ความรู้สึก นิ่งเฉย มั่นคง แน่นอน จริงจัง มีระเบียบวินัย ดังนั้นจึงมักจะใช้กับเนื้อหาที่เกี่ยวกับงานราชการ เรื่องราวทางศาสนา การเมือง การปกครอง
...........2.1.2 ความสมดุลแบบอสมมาตร คือความสมดุลที่มีลักษณะการจัดองค์ประกอบซ้าย – ขวาไม่เท่ากัน ไม่คำนึงถึงความเท่าเทียมของขนาดและปริมาณ แต่คำนึงถึงน้ำหนักที่ถ่วงดุลกันเป็นสำคัญ ตัวอย่างเช่น ด้านซ้ายของภาพอาจมีรูปลูกแมว 3 ตัว ด้านขวามีรูปแม่แมวตัวเดียว ทำให้ทั้งสองด้านถ่วงดุลน้ำหนักซึ่งกันและกันได้ ความรู้สึกแบบอสมมาตรให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว ไม่นิ่งเฉย ตื่นเต้น เนื้อหาที่มีลักษณะอิสระเป็นกันเองยืดหยุ่นได้ ไม่เคร่งเครียดมากนัก สนุกสนาน ผ่อนคลาย ความสมดุลแบบอสมมาตรจึงค่อนข้างเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นแสดงออกถึงความคิดรสร้างสรรค์ มีอิสระ และท้าทายในการออกแบบ
..........2.2 ความสมดุลของสี สีเป็นสิ่งเร้าที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้โดยตรง สามารถถ่วงน้ำหนักให้เกิดความสมดุลได้ทั้งแบบสมมาตรและแบบอสมมาตร
..........2.3 ความสมดุลของรูปร่าง สิ่งเร้าที่มีรูปร่างต่างกันจะสามารถกระตุ้นให้รู้สึกถึงความสมดุลได้ทั้งแบบสมมาตรและอสมมาตร
..........2.4 ความสมดุลของน้ำหนักหรือความเข้มของสี
..........2.5 ความสมดุลของพื้นผิว พื้นผิวของวัตถุที่มีลักษณะแตกต่างกันจะสามารถก่อให้เกิดความสมดุลได้ทั้งแบบสมมาตรและแบบอสมมาตร
..........2.6 ความสมดุลของตำแหน่งและทิศทาง การจัดวางองค์ประกอบที่เป็นจุดเด่นในตำแหน่งหรือทิศทางของสายตาจะสามารถถ่วงดุลกับส่วนประกอบอื่น ๆ ที่มีปริมาณมากกว่าได้ และก่อให้เกิดความสมดุลได้ทั้งแบบสมมาตรและแบบอสมมาตร


3. การเน้น
..........การเน้น (emphasis) เป็นการเลือกย้ำทำให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของสิ่งเร้าให้มีความเข้มโดดเด่นกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ ช่วยกระตุ้นให้ผู้ชมเกิดการรับรู้นิทรรศการได้มากกว่าสิ่งแวดล้อมทั่วไป ทำให้ผู้ชมรับรู้จุดที่เน้นได้ชัดเจนกว่าส่วนอื่นที่มีลักษณะเป็นปกติธรรมดา การเน้นให้เกิดจุดเด่นอาจต้องอาศัยองค์ประกอบศิลป์ ได้แก่ สี แสงเงา พื้นผิว รูปร่าง รูปทรง ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีวิธีเน้นได้หลายวิธี
............3.1 การเน้นด้วยการตัดกัน หมายถึง การจัดองค์ประกอบสำคัญของแต่ละส่วนให้มีความเข้มต่างกันไปในทิศทางตรงกันข้ามจะสามารถดึงดูดความสนใจได้ดีขึ้น
ตัวอย่างแสดงการเน้นด้วยการตัดกัน
............3.2 การเน้นด้วยการแยกตัวออกไป หมายถึง การจัดองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งแยกตัวออกไปจากกลุ่มองค์ประกอบส่วนใหญ่ซึ่งรวมตัวกันอยู่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน องค์ประกอบที่แยกตัวออกไปจะกลายเป็นจุดเด่น สามารถเน้นให้เกิดความสนใจได้มากขึ้นเนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากองค์ประกอบที่รวมตัวกัน
ตัวอย่างแสดงการเน้นด้วยการแยกตัวออกไป
............3.3 การเน้นเนื้อหาโดยรวม การจัดนิทรรศการโดยเน้นเนื้อหาภาพรวมทั้งหมด ไม่มีการเน้นจุดใดจุดหนึ่งเป็นจุดสนใจโดยเฉพาะ เนื่องจากองค์ประกอบทุกอย่างถูกจัดให้มีคุณค่าต่อการรับรู้และการเรียนรู้พอ ๆ กัน เป็นการสร้างความคิดรวบยอด (concept) ของนิทรรศการให้เด่นชัดครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด การเน้นลักษณะนี้จะช่วยให้เนื้อหาของนิทรรศการมีความเป็นอันหนึ่งเดียวกันหรือมีเอกภาพ ไม่มีส่วนใดแปลกแยกไปจากส่วนรวม
ตัวอย่างแสดงการเน้นเนื้อหาโดยรวม
............3.4 การเน้นให้เกิดจังหวะ คำว่า “จังหวะ” หมายถึงตำแหน่งของสิ่งเร้าที่ถูกจัดวางเป็นระยะ ๆ อาจถี่หรือห่างมีทิศทางเดียวกันหรือหลายทิศทาง ขนาดเดียวกันหรือแตกต่างกันหลายขนาด เป็นต้น การจัดองค์ประกอบที่มีลักษณะเดียวกันให้อยู่ในแนวเดียวกันอย่างเป็นระเบียบจะทำให้รู้สึกจริงจังเคร่งเครียดไม่เป็นกันเอง แต่ถ้ากำหนดให้องค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีลักษณะผิดปกติหรือแปลกไปจากส่วนอื่น ๆ โดยการเปลี่ยนแปลงสี ขนาด รูปร่าง ทิศทางหรือตำแหน่งพื้นผิว ก็จะทำให้ผลงานนั้นมีจังหวะที่น่าสนใจมากขึ้น
............3.5 การเน้นโดยการจัดวางตำแหน่ง การจัดองค์ประกอบให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและทำให้น่าสนใจด้วยเส้น สี รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว เช่น การวางตำแหน่งให้มีทิศทางคล้อยตามกัน การวางตำแหน่งให้อยู่ตรงจุดรวมเส้นรัศมี การวางตำแหน่งโดยใช้เส้นนำสายตาไปยังส่วนสำคัญของภาพ
ตัวอย่างแสดงการใช้เส้นนำสายตาไปยังส่วนสำคัญของภาพ

ตัวอย่างแสดงการวางตำแหน่งให้อยู่ตรงจุดรวมเส้นรัศมี

ตัวอย่างแสดงการวางตำแหน่งให้มีทิศทางคล้อยตามกัน


ตัวอย่างการเน้นให้เกิดจุดเด่นในนิทรรศการ
.........1. การเน้นด้วยสี การจัดป้ายนิเทศเพื่อแสดงองค์ประกอบและกระบวนการเรียนการสอน ผู้จัดเน้นให้สะดุดตาด้วยพื้นสีเหลืองซึ่งเป็นสีที่มีความสว่าง สามารถกระตุ้นการรับรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาแต่ละตอน
ตัวอย่างแสดงการเน้นด้วยสี

ตัวอย่างแสดงการเน้นด้วยสี
.........2. การเน้นด้วยสีและพื้นผิว อาคารและบริเวณโดยรอบบางส่วนภายในโรงถ่ายภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด (Holly Wood) เน้นด้วยสีตรงกันข้ามให้ดูตัดกัน กระตุ้นสายตาแลดูฉูดฉาด ตื่นเต้น สร้างความสนุกสนานด้วยลวดลายสีดำตัดกับพื้นสีขาวพื้นผิวที่มีระเบียบแบบแผนของรูปทรงครึ่งวงกลมที่อยู่ติดกัน
ตัวอย่างแสดงการเน้นด้วยสีและพื้นผิว
.........3. การเน้นด้วยแสง ภาพการจัดนิทรรศการโคมไฟจีนที่เมืองซานฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เป็นโคมไฟรูปต่าง ๆ ที่โดดเด่นท่ามกลางเงามืดรอบด้าน เป็นการเน้นรูปทรงด้วยแสงไฟจากด้านในส่องผ่านวัสดุโปร่งแสง ทำให้ดูผ่องใส สวยงาม
ตัวอย่างแสดงการเน้นด้วยแสง
.........4. การเน้นด้วยเส้นหรือแถบสี เป็นการเน้นตัวอาคารจัดแสดงนิทรรศการ การด้วยแถบสีเหลืองตัดกับพื้นสีน้ำเงิน ทำให้โดดเด่นมองเห็นจากระยะไกลและสามารถสื่อความหมายได้ดีเมื่อนำเครื่องหมายสัญลักษณ์ของสินค้าหรือบริษัทต่าง ๆ (logo) ที่มีความเกี่ยวข้องกันมาวางเรียงกันบนแถบสีเหลืองทำให้มองเห็นชัด
ตัวอย่างแสดงการเน้นด้วยเส้นหรือแถบสี
........5. การเน้นด้วยพื้นผิว เป็นการออกแบบในการนำเสนอสินค้าหรือวัสดุจัดแสดง โดยคำนึงถึงความกลมกลืนระหว่างสินค้ากับวัตถุดิบซึ่งเป็นที่มาของสินค้า พื้นที่ทั้งหมดคลุมด้วยเมล็ดถั่วเหลืองจำนวนมากทำให้เห็นเป็นพื้นผิวแบบซ้ำ ๆ ด้วยขนาดเล็ก ๆ ที่ใกล้เคียงกันตัดกับผลิตภัณฑ์กล่องสี่เหลี่ยมทำให้ดูเด่นขึ้นมาจากพื้น สามารถสื่อความหมายโดยภาพรวมของผลิตภัณฑ์ได้อย่างสมบูรณ์
ตัวอย่างแสดงการเน้นด้วยพื้นผิว
........6. การเน้นด้วยขนาด ทิศทาง และการเคลื่อนไหว การจัดแสดงสินค้าในงานวันนักประดิษฐ์ ณ กรุงเทพมหานคร สินค้านมถั่วเหลือง ยี่ฮ้อแล็คตาซอย เรียกร้องความสนใจผู้ชมได้ดี เนื่องจากการออกแบบหุ่นจำลองกล่องบรรจุขนาดใหญ่กว่าของจริงหลายเท่าตัวมากทำให้ดูแปลกตา การจัดวางให้กล่องเอียงดูผิดแปลกไปจากสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ตรงมุมกล่องด้านบนที่เอียงลงจำลองเป็นนมถั่วเหลืองไหลออกจากกล่องลงในแก้วที่วางรองรับอยู่ด้านล่าง การไหลของน้ำนมถั่วเหลืองทำให้มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา จึงดูเหมือนเป็นองค์ประกอบที่สามารถกระตุ้นความสนใจได้ดีกว่าองค์ประกอบอื่น
ตัวอย่างแสดงการเน้นด้วยขนาด ทิศทาง และการเคลื่อนไหว
........7. การเน้นด้วยรูปทรงและทิศทางอาคารจัดแสดงนิทรรศการของบริษัท BAYER ในงานบีโอไอ แฟร์ 2000 ที่เมืองทองธานี กรุงเทพมหานคร ออกแบบเป็นรูปทรงกล่องสี่เหลี่ยมคล้ายลูกเต๋าติดตั้งเป็นมุมเอียงทำให้ดูแปลก กระตุ้นความสนใจได้ดีกว่าอาคารอื่น ๆ ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
ตัวอย่างแสดงการเน้นด้วยรูปทรงและทิศทาง
........8. การเน้นด้วยขนาด พื้นผิว และรูปทรงอาคารลูกกอล์ฟขององค์การนาซ่า (NASA) มลรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ออกแบบเป็นรูปทรงกลมขนาดมหึมา พื้นผิวภายนอกเป็นรูปสามเหลี่ยมลักษณะ 3 มิติ ขนาดเล็ก ๆ จำนวนมาก วางเรียงต่อเนื่องกันอย่างเป็นระเบียบเต็มพื้นที่โดยรอบทั้งหมด
ภาพตัวอย่าง ต่อ
ตัวอย่างแสดงการเน้นด้วยขนาด พื้นผิว และรูปทรง
........9. การเน้นด้วยรูปร่าง สี และขนาด การจัดป้ายนิเทศของพิพิธภัณฑ์เพื่อสุขภาพเป็นการเน้นเนื้อหาด้วยรูปภาพที่มีรูปร่างขนาดใหญ่สีอ่อนตัดกับพื้นสีน้ำเงินเข้มทำให้ป้ายนิเทศโดดเด่นและสื่อความหมายได้ชัดเจน
ตัวอย่างการเน้นด้วยรูปร่าง สี และขนาด
........10. การเน้นด้วยรูปซ้ำ ๆ กัน การออกแบบองค์ประกอบอาคารนิทรรศการของบริษัท MOSTE ในงานบีโอไอ แฟร์ 2000 ณ กรุงเทพมหานคร เน้นด้วยรูปทรงสี่เหลี่ยมสูงจนมองเป็นเส้นหลาย ๆ กัน มีลักษณะซ้ำ ๆ กัน ด้านบนแต่ละเส้นตัดเฉียงลดหลั่นกัน ทำให้ดูเป็นกลุ่มเป็นอันหนึ่งเดียวกัน
ตัวอย่างการเน้นด้วยรูปซ้ำ ๆ กัน 
........11. การเน้นด้วยขนาดการเน้นองค์ประกอบของการจัดแสดงด้วยขนาดที่น่าสนใจอีกชิ้นหนึ่งได้แก่รูปกีต้าร์ขนาดใหญ่หน้าโรงถ่ายทำภาพยนตร์ฮอลลี่วูด นครลอส แองเจลลิส ตั้งตระหง่านโดดเด่นเป็นที่สนใจของผู้ชมของทั่วไป เนื่องจากถูกออกแบบให้มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษและมีสัดส่วนเหมือนของจริงทุกประการ

แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม
-  แบ่งพื้นที่ใช้สอยและกำหนดขอบเขตของผู้ใช้แต่ละประเภทอย่างชัดเจนและเป็นสัดส่วนเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และความเป็นส่วนตัว
-  ใช้โถงต้อนรับ เป็นศูนย์กลางหลัก ในการเข้าถึงพื้นที่ในส่วนต่างๆเพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานรวมไปถึงง่ายต่อการควบคุม
-  มีการจัดที่ว่างภายในให้เกิดการแตกต่างกันระหว่างที่ว่าง เพื่อกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ ทำให้รู้สึกไม่น่าเบื่อและเป็นการเน้น space ที่มีความพิเศษแตกต่างออกไป
-  แยกเส้นทางบริการภายในโครงการกับเส้นทางของผู้มาเยี่ยมชมโครงการ ทั้งแนวตั้งและแนวนอน เพื่อไม่ให้เกิดการปะปนกัน
-  มีการจัดระบบบริการและระบบสัญจรในภาพรวมเป็นแบบกระจายส่วนกลางไปยังส่วนต่างๆในโครงการ
-  มีการเว้นที่ว่างรอบอาคาร เพื่อป้องกันไฟไหม้ โดยให้รถดับเพลิงวิ่งรอบได้และมีระบบรักษาความปลอดภัยในส่วนจัดแสดงงาน ส่วนคลังมากที่สุด


ส่วนบริการสาธารณะ
-  ลักษณะทางเดินโล่ง มองเห็นกิจกรรมที่อยู่ในส่วนบริการสาธารณะได้อย่างชัดเจนและมีการใช้แสงธรรมชาติช่วยส่วนบรรยากาศก่อนเข้าชม
-  Space ภายในโถงต้อนรับจะต้องกว้างขวาง โอ้อ่า ไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกอึดอัดและมีลักษณะเด่นเฉพาะเป็นการสร้างความประทับใจแรกก่อนที่จะไปยังส่วนต่อไป
-  ออกแบบให้ห้องพยาบาลสามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้สะดวกเพื่อเวลาเกิดอุบัติเหตุสามารถขนย้ายผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลในกรณีที่ไม่สามารถรักษาผู้ป่วยได้
  
Admin
-  การจัดลำดับของพื้นที่ใช้สอยจะจัดเรียงตามตำแหน่งโดยตำแหน่งสูงสุดจะอยู่ลึกสุด มีความเป็นส่วนตัวสูงที่สุด  เพราะผู้ที่มาติดต่อที่พนักงานประจำแต่ละแผนกเป็นส่วนใหญ่
-  มีการจัดพื้นที่ทำงานให้ความเป็นส่วนตัวหรือถ้าเป็นห้องเจ้าหน้าที่รวมจะมีการใช้ Partition กั้นเพื่อให้เกิดความเป็นส่วนตัว
-  เปิดมุมมองในส่วนทำงานเพื่อลดความตึงเครียดในการทำงานและเพื่อรับแสงธรรมชาติเข้ามาช่วยให้เกิดความสว่าง
-  ในส่วนของห้องทำงานต้องมีแสงสว่างที่เพียงพอ ทั้งแสงธรรมชาติและแสงประดิษฐ์
-  ควรปราศจากเสียงรบกวนหรือไม่อยู่ใกล้ส่วนที่มีเสียงดัง เพราะจะทำให้เสียสมาธิในการทำงาน

การจัดการ
-  การใช้ Circulation เป็นแบบรวมระหว่างพนักงาน ผู้มาติดต่อ แม่บ้าน เนื่องจากมี User ไม่มากนัก
-  ระบบรักษาความปลอดภัย นำระบบ cctv มาใช้เนื่องจากเป็นบริเวณที่คนพลุกพล่านและต้องการดูแลทั่วถึง

ส่วนบริการอาคาร
-  เป็นศูนย์รวมการบริการ เพื่อกระจายไปยังส่วนต่างๆภายในโรงการ
-  ควรมีการตรวจเช็คบริเวณขนของและทางเข้าออกเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
-  จัดให้มีพื้นที่จอดรถแยกเฉพาะจากส่วนจอดรถของโครงการ เพื่อความสะดวกในการขนย้ายอุปกรณ์
-  ระบบการลงเวลาใช้แบบตอกบัตร ลงเวลาเมื่อตอกบัตรเสร็จก็จะไปเปลี่ยนเสื้อผ้าและแยกย้ายไปทำงานตามแผนกของตน
-  จัดให้มีทางเดินและส่วนต่างๆของงานระบบใช้ทางเดินร่วมกันเพื่อความสะดวกในการควบคุมดูแล

ส่วนที่จอดรถ
ที่จอดรถควรแยกประเภทของผู้ใช้งาน ไม่ปะปนกันเพื่อความสะดวกของแต่ละฝ่าย


Reference Data : http://hnung4.blogspot.com/
                          วิทยานิพนธ์โครงการพิพิธภัณฑ์แห่งพุทธนิพพาน จ.นครนายก นายคงทน รัตนวงษ์ ปีการศึกษา 2548

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น