นิทรรศการถาวร
นิทรรศการถาวร หมายถึง นิทรรศการที่จัดแสดงเรื่องราวเดิมๆ ไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งที่แสดง เช่น ของจริง หุ่นจำลอง รูปภาพ งานกราฟฟิค ฯลฯ และวิธีการ จัดแสดงนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะเวลานาน จัดอยู่ในอาคารหรือ สถานที่เดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง ผู้ชมสามารถเข้ามาชมได้ตลอดเวลาตลอด ทั้งปี นิทรรศการถาวร มีการจัดกันหลายรูปแบบ และมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่ที่รู้จัก มักคุ้นกันดีก็คือมีคำว่าพิพิธภัณฑ์ หอนิทรรศการ หอศิลป์ ศูนย์วัฒนธรรม นำหน้า เช่น พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ หอศิลป์แห่งชาติ หอวัฒนธรรมนิทรรศน์ เป็นต้น
นิทรรศการถาวร มีวัตถุประสงค์ ที่สำคัญ คือ
1. เพื่อให้ความรู้สาระทางวิทยาการแก่ผู้ชมโดยตรงเช่น พิพิธภัณฑ์สถาน แห่งชาติเพื่อการศึกษาทาง ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมของชาติ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ เพื่อให้ความ รู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในทะเล หอศิลปแห่งชาติ ให้ความรู้ด้าน ศิลปะของชาติ เป็นต้น
2. เพื่อกระตุ้นและชักจูงความคิดของผู้ชม ในเรื่องที่ต้องการสร้างสำนึกร่วมกัน ในด้านต่าง ๆ เช่นความสำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ความสำนึกในสิ่งแวดล้อม ศิลปะวัฒนธรรม การเมือง และศาสนา เป็นต้น
3. เพื่อสาระและบันเทิง เช่น หอเกียรติยศศิลปินแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ เป็นต้น
ประเภทของแสงในการจัดนิทรรศการ
โดยทั่วไปแสงไฟที่ใช้ในการจัดนิทรรศการมีด้วยกัน 3 ประเภทคือ
1. แสงทั่วไป (Primary Lighting)
2. แสงไฟเฉพาะตำแหน่ง(Secondary Lighting)
3.แสงไฟเพื่อสร้างบรรยากาศ (Atmosphere Lighting)
1. แสงทั่วไป (Primary Lighting)
เป็นแสงจากหลอดไฟ ที่ติดตั้ง ไว้เพื่อให้ความสว่าง โดยทั่วไป ทั้งภายใน และภายนอกบริเวณงาน
แสงสว่างสำหรับ ตู้จัดนิทรรศการ (Window Display) และแสงสว่างบริเวณหน้างาน ตรงทางเดิน
เข้า-ออก และแสงสว่าง ของพื้นที่จัดแสดงทั้งหมด
2. แสงไฟเฉพาะตำแหน่ง(Secondary Lighting)
เนื่องจาก แสงไฟทั่วไปไม่อาจจะทำให้ผู้ชมเห็นสิ่ง ที่ต้องการ แสดงเป็นพิเศษ ได้ชัดเจนเพียงพอ จึงจำเป็นต้องเพิ่มความสว่าง ในบริเวณ ที่ตองการเพิ่มเติม จากแสงไฟที่มีไว้เป็นพื้นฐาน โดยอาจใช้ หลอดไฟที่มี แสงส่องจ้า(Floodlight) หรือหลอดไฟที่สามารถบังคับลำแสง ให้พุ่งตรงเฉพาะจุด (Spotlight) เพื่อช่วยให้ผู้ชม มองเห็นสิ่งที่จัดไว้ในตู้โชว์หน้าร้าน หรือบนชั้นในร้าน หรือเนื้อหาบนบอร์ดจัดแสดงได้ดีขึ้น เป็นการเน้นหรือสร้างจุดเด่น
3.แสงไฟเพื่อสร้างบรรยากาศ (Atmosphere Lighting)
นักออกแบบจัดนิทรรศการใช้แสงไฟที่มีสีต่าง ๆ สร้างบรรากาศ เนื่องจาก แสงไฟสีต่างๆ สามารถช่วยเสริมสร้างงานจัดนิทรรศการ เพื่อใหัเหมาะกับ บรรยากาศตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นงาน จัดนิทรรศการกลางแจ้ง นิทรรศการในร่ม หรือตู้จัดแสดง (Window Display)
ประเภทของดวงไฟส่องสว่าง
ดวงไฟหรือหลอดแสงสว่างที่นิยมนำมาใช้ในการจัดนิทรรศการ
แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภทได้แก่
1.หลอดไฟฟ้าเรืองแสง (Fluorescent Lamp)
2.หลอดไฟฟ้าแบบจุดไส้ (Incandest Lamp)
1.หลอดไฟฟ้าเรืองแสง (Fluorescent Lamp)
หลอดไฟฟ้าชนิดนี้มีกำลังแสงและขนาดต่างๆ กัน ใช้สำหรับให้แสงสว่าง ทั่วไปในบริเวณงานจัดนิทรรศการ ทั้งบริเวณกว้างๆ และบริเวณที่ต้องการ ความสว่างเฉพาะแห่ง เช่น สำหรับวางสิ่งแสดง หลอดไฟฟ้าเรืองแสง หรือที่รู้จักกัน โดยทั่วไป คือหลอดนีออน นี้มีหลายสี ฉะนั้นผู้ออกแบบ จึงมีโอกาสเลือกสีให้เหมาะ สมกับสิ่งแสดง และ บรรยากาศได้เช่น
หลอดไฟสีขาว ให้บรรยากาศอบอุ่น สะอาด เป็นธรรมชาติ มีทั้งชนิด
- แสงสีขาวเย็นตา (Cool White)
- และแสงสีขาวนวลโทนอบอุ่น (Warm White)
ข้อควรระวังสำหรับการใช้หลอดไฟฟ้าเรืองแสงแต่เพียงอย่างเดียว ก็คือ แสงจาก หลอดไฟฟ้าประเภทนี้ จะทำให้บรรยากาศไม่สดใสและมองดูซ้ำซาก น่าเบื่อหน่าย แบนไม่มีความลึก ฉะนั้นจึงควรแก้ไขโดยการใช้แสงไฟ จากหลอดไฟฟ้า แบบจุดไส้เข้าช่วย
หลอดไฟสีต่างๆ ทำให้ผู้ชมเกิดอารมณ์คล้อยตามบรรยากาศที่กำหนด แต่การใช้แสงไฟสีเมื่อส่องไปยังบริเวณหรือวัตถุต่างๆ จะทำให้สีของสิ่งนั้น เปลี่ยนไป ฉะนั้นจึงต้องคำนึง ถึงวัตถุประสงค์ของบรรยากาศ ที่ต้องการ โดยต้องคำนึงถึงทฤษฎีของแม่สีแสงประกอบด้วย เพราะทฤษฎีของแม่สีแสง มีระบบการผสมสีที่แตกต่างจากการผสมสีของทางศิลปะ
2.หลอดไฟฟ้าแบบจุดไส้ (Incandest Lamp)
หลอดไฟฟ้าแบบนี้มีลำแสงตรงและมีจานสะท้อนแสงที่ สามารถบังคับ ให้พุ่งตรง ไปยังบริเวณที่ต้องการเน้น หรือต้องการให้เด่นเป็นพิเศษได้และ ทำนองเดียวกัน กับหลอดไฟฟ้าแบบเรืองแสง คือ หลอดไฟฟ้าแบบจุดไส้นี้มีขนาด กำลังแสง และสีต่างๆ ซึ่งผู้ออกแบบจะเลือกใช้ตามความต้องการ ปัจจุบัน มีหลอดไฟฟ้า แบบจุดไส้ชนิดฮาโลเจน (Halogen) เป็นหลอดไฟที่กินแรงไฟต่ำ มีความร้อนน้อย แต่มีกำลังส่องสว่างมากกว่า หลอดไฟแบบสปอต ไลท์ (Spot Light) แบบเดิมที่กินกำลังไฟและมีความร้อน มากกว่า
ข้อแนะนำ ในการใช้แสงไฟสำหรับ การจัดนิทรรศการ
งานจัดนิทรรศการที่มีพื้นที่กว้าง และสิ่งที่จัดแสดงมีขนาดใหญ่ ควรใช้หลอดไฟ ที่ให้ความสว่างทั้งบริเวณ พร้อมด้วยหลอดไฟฟ้าแบบจุดไส้ ที่มีแสงพุ่งตรง ยังบริเวณที่เด่น ที่ต้องการเน้น
ใช้แสงที่ให้ความสว่าง ทั่วไปเพิ่มเติม ด้วยแสงจากไฟที่ส่องเฉพาะตำแหน่ง (Spot Light) เพื่อเป็นการช่วยให้ เห็นความสวยงามชัดเจนขึ้น สำหรับสิ่งที่จัดแสดง ที่มีขนาดเล็ก
ใช้หลอดไฟแบบจุดไส้ ที่มีความสว่างมากเพื่อเพิ่มประกาย ให้แก่สินค้า ประเภทเครื่องประดับอัญมณี ทองและเงิน ตลอดจน เครื่องแก้เจียระไนเพื่อให้ผู้ชมได้เห็นแบบและสี ตลอดจนพื้นผิวสัมผัสของสิ่งแสดงประเภทที่ ต้องการเน้นผิวสัมผัส (Texture) ควรให้ความสว่าง โดยการส่องทะแยง มาจากด้านหนึ่งให้เกิดแสงเงาที่ชัดเจน
แสงไฟสำหรับตู้จัดแสดง (WINDOW DISPLAY)
แสงไฟต้องสว่าง เพียงพอที่จะให้บุคคลที่เดินไปมา เห็นภาพ ในตู้จัดแสดง์ได้ชัดเจนในกรณีที่มีวัตถุจัดแสดงที่เพียงน้อยชิ้น อาจจะให้แสงเ น้นที่ตัววัตถุนั้น ซึ่งควรคำนึงถึงความเป็น ธรรมชาติให้มากที่สุด ทิศทางของแสงไฟควรจะส่องมาจากเบื้องบน หรือใน ทิศทางที่เป็นมุม 45 องศา
ความต้องการด้านพื้นที่ของนิทรรศการถาวร (Space Requirement)
จากรูปแสดงความต้องพื้นที่ต่อหนึ่งคน
ชมบอร์ดนิทรรศการ : พื้นที่ 2.88 ตร.ม.
ชม Electronic Board : พื้นที่ 1.80 ตร.ม.
ชม Computer Touch Screen : พื้นที่ 1.95 ตร.ม.
ชม Model ขนาด Standard : พื้นที่ 5.29 ตร.ม.
ชม Model ขนาด Extra : พื้นที่ 17.64 ตร.ม.
ชมปฏิมากรรม : พื้นที่ 63.00 ตร.ม.
ชมปฏิมากรรม : พื้นที่ 36.00 ตร.ม.
ชมพระพุทธรูปขนาดจริง : พื้นที่ 18.00 ตร.ม.
ชม Diorama : พื้นที่ 18.00 ตร.ม.
Case Study
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง แห่งนี้ เป็น พิพิธภัณฑ์ ที่จัดแสดง หุ่นขี้ผึ้ง ที่หล่อจาก ไฟเบอร์กลาส แห่งแรกของประเทศไทย เกิดจากแรงดลใจของ ผู้สร้างสรรค์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งนำโดย อ.ดวงแก้ว พิทยากรศิลป์ มีวัตถุประสงค์ ในอันที่จะส่งเสริม เผยแพร่ อนุรักษ์ไว้ซึ่ง ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของไทย อันจะเป็นประโยชน์ ในการศึกษาค้นคว้าของเยาวชนสืบไป
การจัดแสดงจะจัดหุ่นไว้เป็นชุด ๆ อาทิเช่น ชุดพระบรมรูปอดีตพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี ชุดพระอริยสงฆ์ ชุดสมเด็จพระปิยมหาราชกับการเลิกทาส ฯลฯ หุ่นแต่ละรูปนั้นจะมีลักษณะเหมือนคนจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผิว ดวงตา แขน เส้นผม
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง แห่งนี้ เป็น พิพิธภัณฑ์ ที่จัดแสดง หุ่นขี้ผึ้ง ที่หล่อจาก ไฟเบอร์กลาส แห่งแรกของประเทศไทย เกิดจากแรงดลใจของ ผู้สร้างสรรค์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งนำโดย อ.ดวงแก้ว พิทยากรศิลป์ มีวัตถุประสงค์ ในอันที่จะส่งเสริม เผยแพร่ อนุรักษ์ไว้ซึ่ง ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของไทย อันจะเป็นประโยชน์ ในการศึกษาค้นคว้าของเยาวชนสืบไป
การจัดแสดงจะจัดหุ่นไว้เป็นชุด ๆ อาทิเช่น ชุดพระบรมรูปอดีตพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี ชุดพระอริยสงฆ์ ชุดสมเด็จพระปิยมหาราชกับการเลิกทาส ฯลฯ หุ่นแต่ละรูปนั้นจะมีลักษณะเหมือนคนจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผิว ดวงตา แขน เส้นผม
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดตั้งโดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์จัดแสดงนิทรรศการและจัดกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี นำเสนอสาระน่ารู้นับจากการค้นพบทฤษฎี หลักการ และการประดิษฐ์ในอดีต ความก้าวหน้าถึงปัจจุบันและแนวโน้มสู่อนาคต นิทรรศการและชิ้นงานที่จัดแสดงนำเสนอ ในรูปแบบที่ให้ผู้ชมสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจด้วยการสัมผัส ทดลอง ร่วมแสดง และโต้ตอบกับชิ้นงานแสดงต่างๆ เนื้อที่จัดแสดงมีประมาณ 10,000 ตารางเมตร แบ่งเป็น 6 ชั้น ตั้งอยู่ที่ เทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง เปิดให้บริการวันอังคาร-วัน อาทิตย์ (เว้นวันจันทร์) เวลา 9.30-17.00 น. ค่าเข้าชม เด็ก 20 บาท ผู้ใหญ่ 50 บาท โทร.577-4172-8 การเดินทาง สามารถโดยสารรถประจำทางปรับอากาศสาย ปอ.1155 จากตลาดรังสิตและฟิวเจอร์พาร์ค ถึงพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ได้รับการออกแบบและก่อสร้างในรูปทรงเรขาคณิตที่น่าทึ่ง สะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการก่อสร้างอันเป็น จุดดึงดูดความสนใจของผู้ที่ได้พบเห็นตัวอาคารมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ 3 ลูก แต่ละลูกมีขนาด 20*20*20 เมตรวางพิงกันเพื่อพยุงและเฉลี่ยการรับน้ำหนักของกันและกัน ทำให้เกิดความสมดุลในการทรงตัวโดยมีรากฐานในการรับน้ำหนักของตึกตรงบริเวณมุมแหลมของรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ทั้ง 3 ลูกโดยจุดรับน้ำหนักแต่ละจุดสามารถรับน้ำหนักได้ถีง 200 ตันโครงสร้างทั้งหมดประกอบด้วยโครงเหล็กเพื่อเสริมด้านความแข็งแรงของอาคารโดยเฉพาะ ในส่วนของลูกบาศก์มีโครงสร้างเป็นโครงเหล็กถักแบ่งเป็น 6 ชั้น มีความสูงประมาณ 45 เมตร หรือเท่ากับอาคาร 12 ชั้นมีพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการภายใน ประมาณ10000ตารางเมตรนอกจากนั้นผนังภายนอกอาคารยังกรุด้วยแผ่นเหล็กเคลือบเซรามิค (Ceramic steel)
ซึ่งมีลักษณะผิวภายนอกที่ดูแลรักษาได้ง่ายและไม่ต้องทาสีตลอด อายุการใช้งานประกอบกับลักษณะพื้นผิวที่สะท้อนแสงและการติดตั้งที่มีความลาดเอียง จึงสะท้อนความร้อนได้มากช่วยให้ประหยัดพลังงานในการปรับอุณหภูมิภายในได้เป็นอย่าง ดีภายในอาคารมีการติดตั้งระบบควบคุม อุณหภูมิระบบป้องกันอัคคีภัยที่ไดมาตรฐาน ทั้งระบบตรวจจับควันไฟ (SmokeDetector) และระบบฉีดน้ำอัตโนมัติ(Sprinkle) ตลอดจนมีการจัดระบบการอำนวยความสะดวกในการเดินชม นิทรรศการภายในอาคารทั้งสำหรับผู้ชมทั่วไป และผู้ทุพลภาพจึงนับได้ว่านอกจากจะเป็นอาคารที่มีรูปทรงดึงดูดใจ แล้วยังเป็นอาคารที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยอีกด้วย
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของอพวช.เปิดให้บริการในปีพ.ศ.2543 มีภารกิจหลักดังนี้
1.พัฒนาและจัดแสดงนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชักนำให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจและรักในวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอันจะนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต
2.จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเทคโนโลยีพื้นบ้านเพื่อให้ผู้ชมเข้าใจถึงกระบวนการการผลิตที่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์แทรก อยู่ในแต่ละขั้นตอนและเกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษตลอดจนมรดกทางวัฒนธรรมของไทยนอกจากผู้ชมจะได้สัมผัสกับอาคารทรงลูกเต๋าที่มีรูปทรงอันน่าทึ่งแล้วภายในยังจะได้สัมผัสกับการจัดแสดงนิทรรศการที่มีรูปแบบการนำเสนอแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าและการพัฒนาของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี แบ่งเนื้อหาสาระออกเป็น 6 หัวข้อจัดแสดงในแต่ละชั้นภายในอาคาร
ชั้นที่ 1 ส่วนต้อนรับและแนะนำการเข้าชม
1. จำหน่ายบัตรและติดต่อเข้าชม
2. ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
3. จุดนัดพบ
4. ห้องอินเทอร์เน็ต
5. ห้องฝากของ
6. นักวิทยาศาสตร์รุ่นบุกเบิก
7. ห้องนิทรรศการหมุนเวียน 1
8. ห้องนิทรรศการหมุนเวียน 2
9. ร้านขายของที่ระลึก
10. สำนักงาน อพวช.
จุดนัดพบ
บริเวณนี้ใช้เป็นที่นัดหมายเพื่อทำกิจกรรมของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ หรือใช้เป็นที่นัดหมายของผู้เข้าชม มีการจัดแสดงแบบจำลองอาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์มหาราชินีไว้ ณ ศูนย์กลางจุดนัดพบ
ห้องอินเทอร์เน็ต
เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ให้บริการสืบค้นข้อมูลด้วยตนเองผ่านเว็บไซด์ต่างๆในอินเทอร์เน็ตตลอดจนให้คำแนะนำวิธีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นแก่ผู้ที่สนใจ
นักวิทยาศาสตร์รุ่นบุกเบิก
นำเสนอชีวิตและผลงานของนักวิทยาศาสตร์ที่โดดเด่นของโลกในรอบระยะเวลา 200 ปีที่ผ่านมา ผลงานของนักวิทยาศาสตร์เหล่านี้มีส่วนช่วยบุกเบิกโลกวิทยาศาสตร์และตอบสนองความต้องการของมนุษย์และนำมนุษย์ไปสู่ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ประกอบไปด้วย
ชั้นที่ 2 ประวัติความเป็นมาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1. การกำเนิดมนุษยชาติและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
2. ประวัติและการค้นพบทางวิทยาศาสตร์
3. ทัศนะของนักวิทยาศาสตร์เด่นของโลก
4. โลกที่เปราะบาง
5. ห้องนิทรรศการสำหรับเด็ก
การกำเนิดมนุษยชาติและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
พบกับหุ่นจำลอง LUCY ซึ่งเป็นซากดึกดำบรรพ์อายุ 3.5 ล้านปีที่ขุดพบในประเทศเอธิโอเปีย เมื่อ พ.ศ. 2517 จัดอยู่ในตระกูลออสตราโลพิเทคุส อฟราเรนซิส ซึ่งเชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์
เหนือขึ้นไปจากหุ่นจำลอง LUCY จัดแสดง หุ่นจำลอง"คนบิน" ตามแนวความคิดในภาพร่างของลีโอนาร์โด ดาร์วินชี ที่คิดว่าจะทำให้มนุษย์บินได้เหมือนนก และแบบจำลองยานอวกาศที่แสดงถึงหลักฐานความสำเร็จของมนุษย์ในเรื่องของ"การบิน"
ประวัติและการค้นพบทางวิทยาศาสตร์
แสดงผลงานการประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบันตลอดจนแนวโน้มในอนาคต แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม
- การสื่อสาร
- พลังงาน
- โลกและอวกาศ
ทัศนะของนักวิทยาศาสตร์เด่นของโลก
สื่อผสมที่นำผู้ชมไปพบกับนักวิทยาศาสตร์ 6 ท่านที่แสดงแนวความคิดของตนต่อในเรื่องต่าง ๆ ที่พวกเขาสนใจศึกษา ประกอบด้วย
-ชาร์ลส์ ดาร์วิน กล่าวถึง โลก ธรรมชาติและวิวัฒนาการของคน สัตว์และพืช
-ดิมิทรี เมนเดเลเยฟ กล่าวถึงการแยกธาตุชนิดต่าง ๆ และจัดตารางธาตุ
-อริสโตเติล กล่าวถึงโลก ทุกสิ่งทุกอย่างประกอบด้วยดินน้ำลมไฟ
-ไอแซก นิวตัน กล่าวถึงแรงโน้มถ่วงของโลกและการเคลื่อนที่ของดวงดาว
-เรเน เดสการ์ด กล่าวถึงการจำลองทางคณิตศาสตร์ ทำให้เราเข้าใจโลกมากขึ้น
-อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวถึงทฤษฎีสัมพันธภาพ
โลกที่เปราะบาง
สื่อผสมที่ชี้ให้เห็นถึงโลกที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติอันหลากหลายแต่ก็เปราะบาง มนุษย์พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อสร้างคุณประโยชน์ต่อโลกและมนุษยชาติ แต่ในอีกทางหนึ่งก็มีผลกระทบต่อโลกและสิ่งแวดล้อมหากนำไปใช้โดยปราศจากจิตสำนึกที่ดี ความร่อยหรอเสื่อมโทรมของธรรมชาติคือหลักฐานสำคัญที่ปรากฏ อะไรจะเกิดขึ้นหากมนุษย์ไม่สามารถใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรักษาทรัพยากรธรรมชาติไว้ได้
ชั้นที่ 3 วิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและพลังงาน
1. เสียง
2. คณิตศาสตร์
3. แสง
4. ไฟฟ้า
5. แม่เหล็ก
6. แรงและการเคลื่อนที่
7. ความเสียดทาน
8. ความร้อน
9. สสารและโมเลกุล
10. อุโมงค์พลังงาน
11. เคมี
เสียง
มารู้จักเรื่องราวของเสียง สิ่งสำคัญในการสื่อสาร เรียนรู้การเดินของเสียงผ่านตัวนำต่าง ๆ การเกิดเสียงก้อง การทดลองสร้างเสียงดนตรีด้วยตนเอง
คณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์และเรขาคณิตไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวเสมอไป มาเรียนรู้แง่มุมเหล่านี้ตั้งแต่ การนับจำนวน การวัดระยะทางและปริมาตร การคำนวณและทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมได้ทดลองใช้อุปกรณ์การวัดและคำนวณด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้อย่างแท้จริง
แสง
มารู้จักคุณสมบัติต่าง ๆ ของแสง และการนำคุณสมบัตินี้มาใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การเดินทางของแสงผ่านเลนส์และปริซึม การหักเหของแสง สีของแสง การเกิดเงา การสะท้อนแสง การทำงานของใยแก้วนำแสง
ไฟฟ้า
มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับไฟฟ้า ที่กล่าวได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตมนุษย์ นำเสนอเรื่องไฟฟ้าสถิตและไฟฟ้ากระแส การเปลี่ยนรูปของพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานรูปอื่น เรียนรู้เรื่องของแบตเตอรี่ เซลล์สุริยะ
แม่เหล็ก
มาเรียนรู้คุณสมบัติของแม่เหล็ก วัสดุที่เป็นสารแม่เหล็ก อำนาจของแม่เหล็กขนาดต่าง ๆ การนำแม่เหล็กมาใช้งานเพื่อสร้างกระแสไฟฟ้า ทำความเข้าใจกับไดนาโมและมอเตอร์ รู้จักกับอุปกรณ์ในชีวิตประจำวันที่ใช้แม่เหล็กไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบ
แรงและการเคลื่อนที่
มารู้จักและทำความเข้าใจกับแรงประเภทต่าง ๆ ที่นับว่ามีอิทธิพลมหาศาลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น แรงดึงดูดของโลก แรงดันอากาศ ชมผลงานสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นจากการความรู้เรื่องแรง เช่น รอก ล้อ เกียร์
ความเสียดทาน
มาทำความเข้าใจกับเรื่องของแรงเสียดทานโดยเฉพาะ เช่น ความเสียดทานในพื้นผิวที่ต่างกัน ชมผลงานที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อเอาชนะความเสียดทาน หรือนำความเสียดทานมาใช้ประโยชน์
ความร้อน
มาทดลองด้วยตนเองเพื่อทำความเข้าใจกับการเคลื่อนที่ของความร้อนในรูปแบบต่าง ๆ คือ การนำความร้อน การพาความร้อนและการแผ่รังสีความร้อน รู้จักประโยชน์ของตัวนำและฉนวนความร้อน
สสารและโมเลกุล
มาเรียนรู้คุณสมบัติของสสารในสถานะทั้ง 4 คือ ของแข็ง ของเหลว ก๊าซและพลาสมา รู้จักกับองค์ประกอบของน้ำ โครงสร้างของผลึก โครงสร้างโมเลกุลของสารบางชนิด
อุโมงค์พลังงาน
นำเสนอเรื่องพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ ที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ เริ่มจากพลังงานมนุษย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานจากซากดึกดำบรรพ์ พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานความร้อนใต้พิภพ
เคมี
นำเสนอทฤษฎีทางเคมี โมเลกุล สสาร พันธะระหว่างโมเลกุล และการเกิดปฏิกิริยายาเคมี ด้วยคอมพิวเตอร์ระบบสัมผัส ที่ผู้ชมสามารถเลือกศึกษาด้วยตนเองตามอัธยาศัย
โรงภาพยนตร์
โรงภาพยนตร์ระบบโปรเจคเตอร์มัลติวิชั่น นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับบทบาทของพลังงานในชีวิตประจำวัน
ชั้นที่ 4 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย
1. ที่ตั้งและภูมิทัศน์ของประเทศไทย
2. นิเวศวิทยาของประเทศไทย
3. การผลิตผลทางเกษตรและอุตสาหกรรม
4. ภูมิศาสตร์ของประเทศไทย
5. สิ่งก่อสร้างและโครงสร้าง
6. ธรณีวิทยาของประเทศไทย
7. โครงสร้างโลกและภูมิอากาศ
ที่ตั้งและภูมิทัศน์ของไทย
จัดแสดงที่ตั้งของประเทศไทยในภูมิศาสตร์โลก บนลูกโลกจำลอง ซึ่งหมุนเร็วเท่าโลกจริง บริเวณใต้ลูกโลกแสดงภูมิทัศน์ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ของประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่อลักษณะการตั้งถิ่นฐานและวิถีการดำเนินชีวิตให้ต่างกันไป
นำเสนอเรื่องระบบนิเวศในประเทศไทยที่มีความสมบูรณ์หลากหลาย เช่น ระบบนิเวศทางทะเลเกาะสมุย ระบบนิเวศลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ระบบนิเวศดอยอินทนนท์ และศึกษาความหลากหลายของสัตว์ พืชชนิดต่าง ๆ จากคอมพิวเตอร์
นำเสนอเรื่องการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุนการเกษตรและอุตสาหกรรมของไทย ตั้งแต่การปรับปรุงกระบวนการผลิต แปรรูป บรรจุหีบห่อ ปรับปรุงพันธุ์ เรียนรู้เรื่องการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์สมัยใหม่ ชมแบบจำลองขั้นตอนการทำนา เก็บเกี่ยว แบบจำลองโรงสีข้าว แบบจำลองเครื่องจักรกลทางการเกษตร
นำเสนอเรื่องการก่อตัวของแผ่นดินไทยที่มีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค ความแตกต่างนี้เองที่มีผลต่อการดำรงของคนไทยในแต่ละภูมิภาค ชมแบบจำลองทางภูมิศาสตร์และที่ตั้งของประเทศไทยในมุมมองจากอวกาศ เรียนรู้เรื่องของการเกิดดิน การเกิดหิน การเคลื่อนตัวของทวีป ภูเขาไฟ และการเกิดแผ่นดินไหว
จัดแสดงถึงเรื่องราวการใช้เทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาโครงสร้างและสิ่งปลูกสร้างให้แข็งแรงและตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ให้มากขึ้น ชมแบบจำลองของสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ เช่น โรงไฟฟ้าพลังน้ำ อาคารสูง กระทั่งอาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เอง
นำเสนอเรื่องความแตกต่างด้านธรณีวิทยาของท้องถิ่นต่าง ๆ ในประเทศไทยที่มีอายุของชั้นหินแตกต่างกันไป เรียนรู้เกี่ยวกับแหล่งหินและแร่ที่มีค่าในประเทศไทย การระเบิดหิน การทำเหมืองแร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ชนิดต่าง ๆ สัมผัสบรรยากาศการขุดค้นซากไดโนเสาร์ของอาจารย์วราวุธ สุธีธรจากแบบจำลองขนาดเท่าจริง
จัดแสดงกลไกการทำงานของโลก ภูมิอากาศ ซึ่งอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต บทบาทของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ที่มีอิทธิพลต่อสภาพลมฟ้าอากาศ ศึกษาวิธีการทำนายสภาพลมฟ้าอากาศของคนโบราณและของนักวิทยาศาสตร์ยุคปัจจุบัน การกำเนิดจักรวาล แล้วมาเรียนรู้เรื่องคุณภาพอากาศที่กำลังเปลี่ยนเพราะผลกระทบจากมลพิษ
1. ร่างกายและสุขภาพ
2. การคมนาคมขนส่ง
3. คุณภาพชีวิต
4. บ้านและสำนักงาน
ร่างกายและสุขภาพ
มารู้จักร่างกายของเราเองและวิธีการดูแลรักษาสุขภาพ เริ่มจากองค์ประกอบที่เล็กที่สุดของร่างกายคือ เซลล์ จนถึงอวัยวะและระบบต่าง ๆ ในร่างกาย คนเราเกิดมาได้อย่างไร ยีนและดีเอ็นเอคืออะไร และสิ่งมีชีวิตได้รับการถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ มาได้อย่างไร การเกิดโรคมีสาเหตุจากอะไร ถ่ายทอดกันได้หรือไม่ ทำความเข้าใจกับแนวทางดูแลสุขภาพ ทั้งในแง่ของการป้องกันและรักษา
การคมนาคมขนส่ง
มารู้จักผลงานการประดิษฐ์คิดค้นของมนุษย์ที่เพื่อความก้าวหน้าด้านการคมนาคมขนส่ง จากการแสดงวิวัฒนาการของการสร้างยานพาหนะประเภทต่าง ๆ ทั้งรถจักรยาน จักรยานยนต์ รถยนต์ เรือยนต์ จนถึงเครื่องบิน ชมแบบจำลองเครื่องยนต์ 4 จังหวะ แบบจำลองเรือไทยและเรือสมัยใหม่ สัมผัสบรรยากาศของเครื่องบินโดยสารจากแบบจำลองห้องโดยสารเครื่องบิน
มาทำความเข้าใจถึงผลกระทบสองด้านของการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ ทางหนึ่งช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดีขึ้น แต่ในอีกทางหนึ่งกลับส่งผลต่อการเกิดมลภาวะทั้งทางน้ำ ดินและอากาศตลอดจนสมดุลของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ เสริมด้วยแนวทางการแก้ไขด้วยการส่งเสริมการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่และช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทดสอบความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมด้วยเกมคอมพิวเตอร์ที่เปิดโอกาสให้มีผู้เล่นหลายคนร่วมแข่งขันกัน
และเลี้ยงสัตว์สมัยใหม่ ชมแบบจำลองขั้นตอนการทำนา เก็บเกี่ยว แบบจำลองโรงสีข้าว แบบจำลองเครื่องจักรกลทางการเกษตร
ชมแบบจำลองเสมือนจริงของบ้านพักอาศัยและสำนักงานสมัยใหม่ซึ่งอาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีช่วยในการออกแบบและสร้างความสะดวกสบาย เรียนรู้การทำงานของเครื่องมือเครื่องใช้ภายในบ้านต่าง ๆ โดยแสดงชิ้นส่วนภายในให้เห็นชัดเจน จัดแสดงสื่อผสมที่นำเสนอการนำเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยมาใช้อำนวยความสะดวกแก่มนุษย์
ชั้นที่ 6 เทคโนโลยีภูมิปัญญาไทย
1. ส่วนเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรม
ราชินีนาถ
2. เทคโนโลยีการแกะสลัก
3. เทคโนโลยีเครื่องปั้นดินเผา
4. เทคโนโลยีโลหกรรม
5. เทคโนโลยีเครื่องจักสาน
6. เทคโนโลยีสิ่งทอ
7. ใจบ้าน
8. วิถีชีวิตไทย
9. โรงละครหุ่น
ส่วนเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
แสดงพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถในการจัดตั้งและสนับสนุนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ เรียนรู้และสัมผัสกับงานศิลปาชีพประเภทต่างๆ ซึ่งเป็นงานฝีมือของคนไทย
เทคโนโลยีการแกะสลัก
มาเรียนรู้และทำความเข้าใจกับเทคโนโลยีการแกะสลัก จัดแสดงวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ และเทคนิควิธีการแกะสลัก พร้อมตัวอย่างผลงานให้ได้ชม
นำเสนอเทคโนโลยีเครื่องปั้นดินเผาในยุคสมัยต่างๆ จัดแสดงวัสดุ อุปกรณ์ ขั้นตอนวิธีการทำ ชมแบบจำลองเตาเผาประเภทต่างๆ ที่ใช้งานตามชนิดและคุณสมบัติของเครื่องปั้นดินเผาที่แตกต่างกันไป
มารู้จักภูมิปัญญาไทยที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเทคนิคชั้นสูงควรแก่การอนุรักษ์ จัดแสดงวิธีการหล่อพระพุทธรูป การตีเหล็ก การทำบาตร การทำเครื่องเงิน เครื่องทอง พร้อมชมตัวอย่างงานโลหกรรมที่สวยงามและทรงคุณค่า
นำเสนอวัสดุท้องถิ่น อุปกรณ์ ขั้นตอนการจักสาน พร้อมจัดแสดงตัวอย่างผลงานจักสานประเภทต่าง ๆ เช่น งานไม้ไผ่ งานหวาย งานย่านลิเภา
ร่วมชื่นชมงานที่แสดงถึงวัฒนธรรมชั้นสูงของประเทศ ซึ่งมีขั้นตอนและรูปแบบแตกต่างกันตามวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น ศึกษาขั้นตอนการทอผ้าฝ้าย การทอผ้าไหม กระบวนการมัดย้อมเป็นลวดลายและทอเป็นผืนผ้าลายต่าง ๆ
พื้นที่จัดแสดงสาธิตเพื่อให้ข้อมูล ความรู้ในเรื่องของเทคโนโลยีภูมิปัญญาไทยโดยวิทยากรผู้ชำนาญในบรรยากาศแบบพื้นบ้านไทย โดยจัดหมุนเวียนการสาธิตนี้สลับกันไป
แสดงถึงวิถีชีวิตคนไทยที่ผูกพันกับธรรมชาติ มีชีวิตความเป็นอยู่สอดคล้องกับเวลาและฤดูกาลที่เปลี่ยนแปรไป แบ่งเป็นสองฤดูกาลหลักคือ วิถีชีวิตไทยในน้ำและวิถีชีวิตไทยในหน้าแล้ง
จัดแสดงหุ่นยนต์ตาและหลาน ๆ เพื่อเป็นตัวแทนนำเสนอเรื่องราวพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถที่ทรงส่งเสริมชาวบ้านในการทำงานศิลปาชีพ
Reference Data : https://sites.google.com/site/prethesisramayana/concept/needs
วิทยานิพนธ์โครงการพิพิธภัณฑ์แห่งพุทธนิพพาน จ.นครนายก นายคงทน รัตนวงษ์ ปีการศึกษา 2548
http://www.rosenini.com/thaihumanimagery/#
http://www.moohin.com/008/008k014.shtml
http://www.rosenini.com/thaihumanimagery/#
http://www.moohin.com/008/008k014.shtml
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น