วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โครงการ สวนพฤกษศาสตร์ ๑๐๐ กรมป่าไม้ จังหวัดสระแก้ว


สวนพฤกษศาสตร์
                เป็นสถาบันทางวิชาการที่เป็นแหล่งรวบรวมพรรณพืชต่างๆ เอาไว้เพื่อทำการอนุรักษ์ ศึกษา วิจัยทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะทางด้านพฤกษศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ว่าด้วยพืช โดยมากจะมีการปลูกรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ ตามแต่ละนโยบาย ลักษณะพื้นที่ และงบประมาณของสวนพฤกษศาสตร์นั้นๆ เช่น สวนกล้วยไม้ สวนสมุนไพร สวนพืชให้สี สวนพืชมีพิษ หรือ ตามการจัดจำแนกพืชเป็นวงศ์ต่างๆ เช่น วงศ์ปาล์ม วงศ์ขิงข่า เป็นต้น โดยสวนพฤกษศาสตร์ที่มีมาตรฐานจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น แปลงรวบรวมพรรณพืช ห้องสมุด หอพรรณไม้ ห้องปฏิบัติการ นอกจากงานด้านอนุรักษ์พืชแล้ว ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพืชสำหรับการศึกษาของนักวิจัย นักเรียนนักศึกษา หรือตอบสนองต่อการเป็นแหล่งท่องเที่ยวและสถานพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งแนวโน้มในปัจจุบันสวนพฤกษศาสตร์จะต้องตอบสนองต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ เช่น การเป็นแหล่งพันธุกรรมให้แก่ชุมชนในท้องถิ่น
          การจัดตั้งสวนพฤกษศาสตร์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พยายามเลือกพื้นที่ของป่าสงวนที่มีหย่อมป่าดั้งเดิมประกอบด้วยไม้ใหญ่น้อยเหลืออยู่บ้าง ทั้งนี้เพื่อประหยัดงบประมาณในการลงทุนจัดตั้งในระยะแรก ซึ่งค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งนี้จะสูงมากถ้าจัดตั้งในพื้นที่โล่งเตียนปราศจากพรรณพืช ภายในสวนพฤกษศาสตร์มีการจัดปลูกต้นไม้ ไม้พุ่ม ไม้เถา พืชล้มลุก แทรกลงไปในหย่อมป่าเดิมให้เป็นหมวดหมู่ ตามวงศ์ สกุลต่างๆ หรือจัดปลูกพรรณไม้ตามวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ ได้แก่ แปลงพืชสมุนไพร แปลงปาล์ม แปลงไทร-มะเดื่อ แปลงไม้สน แปลงไผ่ แปลงหวาย เป็นต้น พร้อมติดป้าย๙อพฤกษศาสตร์และถิ่นกำเนิดของพืชไว้อย่างเด่นชัด

ประเด็นที่มาโครงการ (Problem Issues)
               
เนื่องจากปัจจุบันแม้ว่าพื้นที่ที่เป็นป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ในประเทศไทยจะมีเป็นจำนวนมาก และมีความหลากหลายด้านระบบนิเวศน์ แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ภายในประเทศไทย แต่จากสถิติจำนวนป่าไม้และพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้มีจำนวนที่ลดน้อยลงเนื่องจากเหตุผลหลายๆ ประการ เช่น การบุกรุกหาที่ทำกินของชาวบ้าน การบุกรุกลักลอบตัดต้นไม้ หรือแม้แต่เกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น การเกิดไฟป่า ทำให้ป่าไม้มีจำนวนลดน้อยลง ส่งผลให้สภาพอากาศของโลกมีความเปลี่ยนแปลง ฤดูกาลของแต่ละภูมิภาคแต่ละท้องที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้ระบบนิเวศได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก
จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นทางกรมป่าไม้จึงมีการปรับแผนเพื่อที่จะรับมือกับปัญหาดังกล่าว โดยมีความคิดริเริ่มในการที่จะจัดทำโครงการสวนพฤกษศาสตร์ ที่มีความสำคัญในแง่ของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติด้านพืชอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นแหล่งปลูกฝังให้ประชนเกิดความรักความหวงแหนในทรัพยากรของประเทศ ซึ่งมีความสอดคล้องกับนโยบายในอนาคตที่จะให้มีสวนพฤกษศาสตร์รูปแบบสากลประจำภาคต่างๆ ที่จะเป็นศูนย์รวบรวมและเก็บข้อมูลพรรณไม้ในแต่ละส่วนแต่ละภูมิภาคครอบคลุมทั่วประเทศ และปรับเปลี่ยนรูปแบบของงานสวนพฤกษศาสตร์ให้เป็นรูปแบบสากลทัดเทียมนานาประเทศมากขึ้น

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1)            เพื่อใช้เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์พืชที่มีชีวิต ซึ่งเป็นพืชประจำถิ่นหรือนำมาปลูกจากต่างถิ่น เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าวิจัยขอมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพืช
2)            เป็นสถานศึกษาในธรรมชาติ ตลอดจนสันทนาการ พักผ่อนหย่อนใจ และเปิดกว้างในการศึกษาหาความรู้แก่ผู้เยี่ยมชมทุกชั้น ทุกวัย และทุกระดับ       
3)            เป็นสถานที่อนุรักษ์สังคมพืช ระบบนิเวศ และสภาพแวดล้อม โดยจัดเป็นแหล่งความงามตามธรรมชาติ ให้สอดคล้องกับการศึกษาและสันทนาการทางวิชาการ
4)            เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านพฤกษศาสตร์และพันธุกรรมพืชของประเทศโดยเฉพาะพืชที่มีการกระจายขึ้นอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
5)            เป็นแหล่งปลูกฝัง โน้มน้าว กล่อมเกลาจิตใจ และให้ความรู้แก่เยาวชนให้เกิดความหวงแหนและตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทรัพยากรธรรมชาติ

 
ที่ตั้งโครงการ (SITE)
                แผนที่โครงการ (LOCATION MAP)

 
ตำแน่งที่ตั้งโครงการ
ที่ตั้ง        ตำบลทุ่งมหาเจริญ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ซึ่งอยู่ในพื้นที่โครงการขยายเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ซึ่งเป็นโครงการาครอบคลุมพื้นที่รอยต่อ 5 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ,สระแก้ว ,ปราจีนบุรี ,จันทบุรี ,ระยอง
ขนาดพื้นที่  ประมาณ 16 ไร่
ลักษณะทางกายภาพ  โครงการตั้งอยู่เป็นที่ราบเชิงเขาที่มีชื่อเรียกว่า เขาตะกรุบยาวตลอดแนวด้านตะวันออกของภูเขา พื้นที่ของโครงการเป็นที่ราบเชิงเขา มีลักษณะเป็นที่ราบสูงที่มีเนินสลับกันทั้งพื้นที่  โดยมีความลาดชันไม่มากนัก เฉลี่ยประมาณ 5 –10 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่โครงการติดกับถนนสายคลองคอก คลองหาด ซี่งเป็นถนนที่เชื่อระหว่างจังหวัดฉะเชิงเทรากับจังหวัดปราจีนบุรี
 
การเดินทาง จากกรุงเทพฯใช้เวลาเดินทางประมาณ3 ชั่วโมง จากตัวเมืองฉะเชิงเทราใช้เส้นทางสายฉะเชิงเทรา-พนมสารคาม จากอำเภอพนมสารคามไปตามทางหลวงหมายเลข3245 (พนมสารคาม-สนามชัยเขต) จากนั้นใช้เส้นทางหมายเลข3259 ผ่านอำเภอท่าตะเกียบสู่บ้านหนองคอก แล้วไปตามเส้นทางบ้านหนองคอก-กิ่งอำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว ประมาณ20 กิโลเมตร จะถึงสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนและสถานีวิจัยสัตว์ป่าฉะเชิงเทราซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน


บริบทรอบโครงการ (CONTEXT AND SURROUNDING)
 
กลุ่มเป้าหมายโครงการ
1.             กลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก
- กลุ่มนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ
- กลุ่มนักเรียนและนักศึกษา
- ผู้บริหารและพนักงาน
2.             กลุ่มผู้ใช้โครงการรอง
- กลุ่มนักท่องเที่ยว
- ประชาชนทั่วไป
- พนักงานร้านค้าและร้านอาหารภายในโครงการ
3.             กลุ่มบริหารและพนักงาน

องค์ประกอบโครงการ
1.              ส่วนองค์ประกอบหลักของโครงการ (MAIN – FUNCTION ZONE)
1.1 ส่วนแสดงระบบนิเวศวิทยา สำหรับการสำรวจหรือการชมระบบนิเวศพันธุ์ไม้ ทั้งระบบนิเวศน์ในป่าจริง และระบบนิเวศน์จำลองของป่าไม้ในเขตต่างๆ
2.              ส่วนองค์ประกอบรองของโครงการ (SUB – FUNCTION ZONE)
2.1 ส่วนพิพิธภัณฑ์ สำหรับแสดงพันธุ์ไม้หายากหรือพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจมีความสำคัญในผืนป่าภาคตะวันออกในลักษณะของไม้อบแห้ง ไม้ดอง และไม้มีชีวิต รวมไปถึงการจัดแสดงข้อมูลเกี่ยวกับนิเวศวิทยา สังคมของพรรณไม้ป่าประเภทต่างๆ แบ่งเป็น
-                   นิทรรศการถาวร (PERNAMENT EXHIBITION)
-                   นิทรรศการชั่วคราว (TEMPORARY EXHIBITION)
2.2       ปฏิบัติการวิจัย มีหน้าที่ค้นคว้าวิจัย เก็บข้อมูล เพื่อทำการอนุรักษ์พันธุ์ไม้หายากที่ใกล้สูญพันธุ์ภายในโครงการ  
3.              ส่วนสนับสนุนโครงการ (SUPPORT ZONE)
3.1       ส่วนสนับสนุนการศึกษา เป็นส่วนบริการให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปทางด้านความรู้เกี่ยวกับพันธุ์พืช และระบบนิเวศน์ในป่าทางด้านโสตทัศอุปกรณ์
- ห้องบรรยาย (AUDITORIUM)
- ห้องสมุดธรรมชาติวิทยา (LIBRARY)
- ห้องประชุม (CONFERENCE ROOM)
4.              ส่วนสาธารณะ (PUBLIC ZONE)
4.1       ร้านอาหาร (RESTAURANT) 
4.2      ร้านขายของที่ระลึก (SOUVENIR SHOP)
4.3       โถง (HALL)
4.4       ลานกิจกรรม
5.              ส่วนบริหาร (ADMINISTRATION ZONE)
6.              ส่วนบริการ (SERVICE ZONE)
7.              ส่วนจอดรถ (PARKING ZONE)

รายละเอียดโครงการด้านหน้าที่ใช้สอย (FUNCTION NEEDS)


 
SCHEMATIC DESIGN